"มิคสัญญี..โลกวินาศ"

โลกวินาศ คือ สลายหรือดับ หรือ มิคสัญญี

มิคสัญญี
 
แปลว่า มีความสำคัญในกันและกันเหมือนอย่างเนื้อ คือ เห็นกันฆ่ากันเหมือนอย่างเนื้อถึก ซึ่งจัดอยู่ในยุคที่มนุษย์ขาดแคลนอาหาร เมื่อเห็นมนุษย์ด้วยกันเองก็พากันไล่ฆ่าทุบตีกันแล้ว นำเนื้อมนุษย์มาปรุงเป็นอาหาร จึงจัดอยู่ในยุคมิคสัญญี แต่ก็ยังไม่พินาศกันหมดทั้งโลก ยังมีสัตว์ที่เหลือตายหลบหลีกไป และกลับได้รับความสังเวชสลดทางจิต พากันประพฤติกุศลกรรมมากขึ้น ก็พากันเจริญอายุมากขึ้นด้วยดำนาจกุศลโดยลำดับจนถึงอสงไขย แล้วกลับอายุถอยลงมาด้วยอำนาจกุศลกรรมอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อกัปพินาศ จากอรรถกถาเล่มที่

ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ,
    ในกาลนั้น โลกย่อม ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา
.
ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ
    ในกาลนั้น โลกย่อมถูกน้ำทำลายให้แหลกเหลวไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นสุภกิณหะลงมา
.
ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะลม,
    ในกาลนั้น โลกย่อมถูกลมพัด ให้กระจัดกระจายไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นเวหัปผละลงมา
.
๐ ก็โดยส่วนมาก* พุทธเขตอย่างหนึ่ง (คือเขตของพระพุทธเจ้า) ย่อมพินาศไป     แม้ในกาลทุกเมื่อ.

ในกัปเสื่อม หมายความว่าเป็นระยะเวลาที่ โลกวินาศ คือ สลายหรือดับ
ความวินาศของโลกมี ๓ อย่าง  คือ

๐ อาโปสังวัฏฏะ  วินาศเพราะน้ำ
๐ เตโชสังวัฏฏะ   วินาศเพราะไฟ
๐ วาโยสังวัฏฏะ   วินาศเพราะลม



                                  


อธิบายตามคติเก่าแก่นั้นว่า เมื่อโลกวินาศเพราะไฟ จะเกิดมหาเมฆกัปวิลาศ คือ ฝนตกใหญ่ทั่วโลกก่อน ครั้นฝนนั้นหยุดแล้วจะไม่มีฝนตกอีก จะเกิดความแห้งแล้งไปโดยลำดับ จะมีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏขึ้น จนถึงดวงที่  ๗ จึงจะเกิดไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้น อากาศเบื้องบนจะเป็นอันเดียวกับอากาศเบื้องล่าง หมายความว่า เหลือแต่อากาศว่างเปล่า มีความืดมิดทั่วไป ครั้นแล้วมหาเมฆกัปสมบัติ (การก่อเกิดกัปใหม่) จะตั้งขึ้น ฝนจะตกลงทั่วที่เกิดไฟไหมลมจะประคองรวมน้ำฝนให้รวมกันเป็นก้อนกลม เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวแล้วก็แห้งขอดลงไป ปรากฏโลกขึ้นใหม่ จึงถึงวาระที่เรียกว่า กัปเจริญ



                                 


การก่อเกิดกัปใหม่

มหาเมฆกัปสมบัติ (การก่อเกิดกัปใหม่) จะตั้งขึ้น ฝนจะตกลงทั่วที่เกิดไฟไหม
ลมจะประคองรวมน้ำฝนให้รวมกันเป็นก้อนกลม เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวแล้วก็แห้งขอดลงไป ปรากฏโลกขึ้นใหม่ จึงถึงวาระที่เรียกว่า กัปเจริญ

สัตว์ที่บังเกิดขึ้นเป็นพวกแรกนั้นเป็นพวกพรหมในพรหมโลกชั้นที่ไฟไหม้ขึ้นไปไม่ถึง ลงมาจุติหรือเกิดเป็นพวก อุปปาติกะ แปลว่า ลอยเกิด ผุดเกิด มิได้เกิดจากครรภ์หรือในครรภ์ แต่ว่าผุดเกิดขึ้นมาในอากาศ เป็นตัวตนใหญ่โตปรากฏขึ้น แล้วพากันบริโภคง้วนดิน หรือ ปฐวิรส คือ เมื่อน้ำแห้งขอด ก็เกิดเป็นแผ่นฟ้าขึ้นในเบื้องบน มีสีงาม มีรสหอมหวาน,สะเก็ดดิน หรือ ปฐวีปัปปฏก, เครือดิน หรือ ปทาลตา หมดไปโดยลำดับ จากนั้นจึงบริโภคธัญชาติ เป็นต้นว่า ข้าวสาลีสืบต่อมา สัตว์โลกจำพวกแรกจึงมีร่างกายหบายขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏเป็นบุรุษสตรีสร้างบ้านเรือนสืบพันธุ์กันมา ในชั้นแรกมีอายุยืนยาวเป็นอสงไขย ต่อมาพากันประพฤติอกุศลกรรม ด้วยอำนาจของราคะ โทสะ โมหะ มากขึ้น อายุก็ลดน้อยถอยลงโดยลำดับจนถึง ๑๐ ปี ก็พากันถึงความพินาศเป็นส่วนมาก

เมื่อเป็นดังนี้จะเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน จะมีชีวิตอยู่ได้ก็เฉพาะตอนที่เป็นกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หรือ กัปที่ปกติเจริญแล้วเท่านั้น เพราะกัปอื่น ๆ นั้น สรรพสัตว์ทั้งมวลไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งนี้ก็เนื่องด้วย เป็นกัปที่โลกถูกทำลาย และยังคุกกรุ่นอยู่ด้วยความไม่ปกติ เช่น มีความร้อน มีอุณหภูมิสูง น้ำท่วม หรือแห้งแล้งหนัก


กล่าวถึงการกำหนดนับในพุทธวงศ์(ขุ.พุทฺธ.๓๓/๕๔๖/๒๗.)
  ๐ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึง ๔ อุบัติในกัปหนึ่ง
  ๐ องค์ที่ ๕ อุบัติในอีกกัปหนึ่ง แต่ในระหว่างองค์ที่ ๔  ถึงองค์ที่ ๕ มีระยะห่างกันมาก
     จนนับกัปไม่ถ้วน(เป็นอสงไขยที่ ๑)
  ๐ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๖-๗-๘-๙ อุบัติอีกกัปหนึ่ง แต่ระหว่างองค์ที่ ๕ ต่อองค์ที่ ๖ นี้
     มีระยะห่างเป็นอสงไขที่ ๒ 
  ๐ องค์ที่ ๑๐-๑๑-๑๒ อุบัติอีกกัปหนึ่ง ระยะเวลาห่างระหว่างองค์ที่ ๙ ต่อองค์ที่ ๑๐
      เป็นอสงไขยที่ ๓
  ๐ องค์ที่ ๑๓ อุบัติอีกกัปหนึ่ง ระยะเวลาห่างระหว่างองค์ที่ ๑๒ ต่อองค์ที่ ๑๓
      เป็นอสงไขที่ ๔ นับตั้งแต่องค์ที่ ๑๓ นั้นมาจนถึงปัจจุบัน หรือว่านับตั้งแต่
      ภัททกัปในปุจจุบันนี้ย้อนไปจนถึงองค์ที่ ๑๓ อุบัติรวมได้แสนกัป องค์ที่ ๑๓
      องค์เดียวอุบัติในกัปนั้น ย้อนกลับไปสามหมื่นกัป
  ๐ องค์ที่ ๑๔-๑๕ อุบัติ ย้อนไปหนึ่งหมื่นแปดพันกัป
  ๐ องค์ที่  ๑๖-๑๗-๑๘ อุบัติ ย้อนไปอีกเก้าสิบสี่กัป
  ๐ องค์ที่ ๑๙ อุบัติ ย้อนไปเก้าสิบสองกัป
  ๐ องค์ที่ ๒๐-๒๑ อุบัติ ย้อนไปเก้าสิบเอ็ดกัป
  ๐ องค์ที่ ๒๒ อุบัติคือพระพุทธเจ้าวิปัสสี ย้อนกลับไปสามสิบเอ็ดกัป
  ๐ องค์ที่ ๒๓-๒๔ อุบัติ ต่อจากนั้นก็มาถึง ภัทรกัป หรือ กัปปัจจุบัน คือ กัปที่เจริญที่สุด
     เพราะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติจำนวน ๕ พระองค์ ตั้งแต่
  ๐ องค์ที่ ๒๕-๒๖-๒๗-๒๘ ได้อุบัติขึ้นโดยลำดับ  และ
  ๐ องค์ที่ ๒๙ คือพระศรีอริยเมตไตย ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตเบื้องหน้านั้น
     รวมเป็นพระเจ้า ๕ พระองค์ ในกัปนี้ เพราะกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมากกว่ากัปอื่น ๆ
     ในอดีตที่ท่านระลึกไปถึง จึงเรียกว่า ภัททกัป หรือ ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ


ที่มา : มุนีนาถทีปนี หนังสือชนะเลิศรางวัลวรรณกรรมไทยของ ธ.กรุงเทพ
         รจนาโดย พระพรหมโมลี(วิลาศ ญาณวโร ปธ.๙)